HOME KNOWLEDGE เเผนพลังงานทางเลือก
เเผนพลังงานทางเลือก
เเผนพลังงานทางเลือก
22 June 2017
2. ASEAN กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2.1 ความเป็นมาของ ASEAN

    ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้งหลายคนอาจจะยังมีข้อกังขาเกี่ยวคำเรียกที่ว่า "ASEAN" หรือในภาษาไทยอ่านว่า "อาเซียน" จริงๆ แล้วคำนี้มันมีความหมายว่าอะไร และมีความสำคัญอย่างไร เหตุใดเราถึงควรรู้จักกับเจ้าคำนี้เอาไว้ วันนี้ เราจะมาคลายข้อสงสัยเพื่อทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับ "อาเซียน" มากขึ้น

    อาเซียน เกิดจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่ มาเลเซีย, พม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, สิงคโปร์, เวียดนาม, บรูไนดารุส-ซาลาม, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งรายนามประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น โดยอาเซียน มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า "Association of Southeast Asian Nations" หรือ "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือกำเนิดขึ้นโดย "ปฏิญญากรุงเทพ" (Bangkok Declaration) หรือ "ปฏิญญาอาเซียน" (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีสมาชิกเริ่มแรกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเอง ภายหลังจึงได้มีอีก 5 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มเติม จึงทำให้ "อาเซียน" มีสมาชิกเป็น 10 ประเทศดังเช่นในปัจจุบัน

Ref : http://guru.sanook.com/8631/

2.2 ASEAN กับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

    ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้าวเข้าสู่ความเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ “AEC” อย่างเต็มตัวแล้ว ถือเป็นก้าวย่างสำคัญที่ทำให้ภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีฐานการผลิตรวมกัน และสร้างอำนาจต่อรองทางด้านการค้าในเวทีโลกได้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ดังนั้นการก้าวเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” จึงเป็นทั้ง “ความท้าทาย” และ “โอกาส” ให้แสวงหาแนวทางและมาตรการร่วมกัน เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาค เกิดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ โดยมีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อาเซียนต่างยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับภูมิภาคอื่น ซึ่งเห็นได้จากนโยบายที่ก้าวกระโดดของหลายประเทศ อาทิ

    มาเลเซียได้มีวิสัยทัศน์ว่า “จะต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วในปี ค.ศ. 2020” สำหรับอาเซียนใหม่ (CLMV) ก็มีนโยบายเปิดประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานโดยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของอาเซียนจะส่งผลให้เกิดการขยายและเพิ่มฐานการผลิตในภูมิภาค  ก่อให้เกิดปัญหามลพิษและเกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่มากขึ้นจากกิจกรรมต่างๆจึงคาดการณ์ได้ว่าภูมิภาคอาเซียนจะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญของโลกในอนาคต ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับประชาชนในภูมิภาคอาเซียน จึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในขณะเดียวกันภูมิภาคอาเซียนก็มีความเปราะบางอย่างยิ่ง เนื่องจากประชากรยังต้องพึ่งพิงภาคเกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิตของประชาชนในภูมิภาค ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศย่อมส่งผลกระทบเช่นกัน

    สำหรับปัญหาโลกร้อนไม่ใช่ประเด็นอุบัติใหม่ของภูมิภาคเพราะผู้นำอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมามากกว่าทศวรรษแล้ว โดยได้ยกประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่าเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อมนุษยชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืน และยังส่งผลกระทบต่อภูมิภาคอาเซียอีกด้วย ในการประชุมสมัชชารัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC COP) ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา ในขณะเดียวกันประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจาก Brown Economy เป็น Green Economy หรือ “เศรษฐกิจสีเขียว” เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่มุ่งสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดของเสียและก๊าซเรือนกระจกในปริมาณน้อยที่สุด ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้มีการตั้งเป้าหมายระดับชาติเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามขีดความสามารถของตน อาทิ

    อินโดนีเซียตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 26% ภายในปี พ.ศ. 2563 สปป.ลาวตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่า 70% ภายในปี พ.ศ. 2563 มาเลเซียตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% จากภาคพลังงาน ภายในปี พ.ศ.2563 และเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน 11% ภายในปี พ.ศ. 2563 สิงคโปร์ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 16% ภายในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 7-20% ภายในปี พ.ศ. 2563 และเวียดนามตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 7-20% ภายในปี พ.ศ. 2563 จากที่กล่าวมาหลายๆ ท่านน่าจะเห็นภาพได้ว่า ภูมิภาคอาเซียนซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา และไม่ได้เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ก็ยังมีความปรารถนาที่จะลดสาเหตุของการเกิดโลกร้อนและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับการก้าวเข้าสู่ AEC จะส่งผลทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยผลด้านบวกจะก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งเกิดการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานของภูมิภาค สำหรับผลด้านลบโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน

    ผู้เขียนมองว่าอาจก่อให้เกิดการเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น เพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายด้านพลังงาน นอกจากนี้นโยบายการเชื่อมโยงพลังงานในภูมิภาคอาจทำให้แรงขับเคลื่อนในการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆ ลดลง เพราะพลังงานฟอสซิลมีต้นทุนถูกกว่า เป็นต้น ถึงจุดนี้หลายท่านคงพอมองภาพชัดเจนขึ้นว่า ปัญหาโลกร้อนเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงเป็นความท้าทายที่ประชาคมอาเซียนจะร่วมกันแสวงหาแนวทาง หรือมาตรการในการจัดการกับปัญหาร่วมกัน โดยอาศัยความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อพัฒนานโยบาย กฎระเบียบ และมาตรฐานการดำเนินงานเพื่อลดภาวะโลกร้อน อาทิ การจัดทำแผนแม่บทสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคร่วมกัน การจัดทำ Regional benchmarking ด้านพลังงานที่สะอาด การจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานร่วมกัน (Harmonized Standard) เพื่อลดการกีดกันทางการค้าและเป็นมาตรฐานเดียวกันของภูมิภาค การร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในบริบทของอาเซียน การร่วมกันพัฒนากลไกการตลาดเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและภูมิภาค เป็นต้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างให้ประชาคมอาเซียนเติบโตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth) และมีขีดความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์โลกร้อนในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

Ref: http://www.tgo.or.th/2015/thai/news_detail.php?id=944

    2.3 โครงการ ASEAN SHINE

    โครงการอาเซียน ไชน์ (ASEAN SHINE) นับเป็นโครงการระดับภูมิภาคอาเซียนเพื่อพัฒนาและกำหนดมาตรฐานด้านประสิทธิภาพทางพลังงานให้เป็นหนึ่งเดียว ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ประมาณ 80% คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 1,749,000 ยูโร หรือประมาณ 72 ล้านบาท บริหารจัดการโดยสมาคมทองแดงนานาชาติและมีการช่วยเหลือทางเทคนิคจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานการทดสอบและประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะนำไปสู่การประหยัดพลังงานได้กว่า 21,500 ล้านบาท และช่วยกระตุ้นการค้าให้แก่อาเซียนได้มากถึงร้อยละ 4.55 โดยเริ่มจากเครื่องปรับอากาศ และปัจจุบันมีการพัฒนาไปถึงหลอดไฟ และความพยายามในการขยายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ในอนาคต อาทิ ตู้เย็น ทีวี หม้อแปลงไฟฟ้า และ มอเตอร์ เป็นต้น

 “เปิดเออีซี... เปิดเสรีการค้าภายในอาเซียน”

    โครงการอาเซียน ไชน์ เป็นกรอบยุทธศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นองค์รวม ริเริ่มขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม คือภูมิภาคอาเซียน หากประสบความสำเร็จจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของตลาดสินค้าอาเซียน ส่งเสริมประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นการสร้างมาตรฐานระดับสูงแก่ภูมิภาคที่มีอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด และเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาค สอดคล้องและส่งเสริมการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีที่ผ่านมา (AEC) ปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เข้าสู่ชุมชนการค้า เกิดการค้าเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิก มีการถ่ายโอนความรู้และความเชี่ยวชาญไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพทางพลังงาน

    ผลสำเร็จ

- ในช่วงพ.ศ. 2556-2559 มีการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ ASEAN SHINE และความสำเร็จที่ได้มีมากมาย อาทิ เช่นมีการปรับประสานมาตรฐานการทดสอบให้สอดคล้องกันในอาเซียน ตามมาตรฐานสากล ISO 5151-2010

- มีการรับรองแผนในระดับภูมิภาคที่เน้นกลยุทธ์การปรับประสานมาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ (Minimum Energy Performance Standards) ให้เป็นหนึ่งเดียวและสอดคล้องกันในอาเซียน ในที่ประชุมรัฐมนตรีด้านพลังงานของอาเซียนครั้งที่ 33

- กระทรวงที่รับผิดชอบด้านพลังงานของประเทศในอาเซียนปัจจุบันกำลังร่างแผนระดับประเทศขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผนในระดับภูมิภาค

- มีการฝึกอบรมเพิ่มพูลความรู้ให้กับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ และห้องทดสอบต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน

- มีการพัฒนาโปรแกรมช่วยเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ โดยชี้ให้ผู้บริโภคเห็นถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และตัดสินใจเลือกเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูงในที่สุด

Ref: http://www.thaipr.net/energy/737796

OTHER เเผนพลังงานทางเลือก
Call 02.011.8111
Copyright © 2019 SPCG Public Company Limited. All rights reserved. Designed by DEGITO